วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์


             สวัสดีค่าาเพื่อนๆทุกคนน  เจอกันอีกแล้วน้าา  วันนี้เมย์จะมาให้ความรู้เพื่อนเรื่อง โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ( ภาษาฟอร์แทรน ) หลายๆคนอาจงงว่า เอ้ะ ?  คอมพิวเตอร์มีภาษาด้วยหรอ  แล้วภาษาฟอร์แทรนคืออะไร ในวันนี้เมย์มีคำตอบให้คะ  แต่ก่อนอื่นเรามารู็จักภาษาคอมพิวเตอร์กันก่อนดีกว่าา

     (1) ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANslator : FORTRAN) 
   (2) ภาษาโคบอล (Common Business – Oriented Language : COBOL) 
    (3) ภาษาเบสิก (Beginner’s All - purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
    (4) ภาษาปาสคาล (Pascal) 

    (5) ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
    (6) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
    (7) การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (visual programing)
    (8)ภาษาจาวา (JAVA)
    (9) ภาษาเดลไฟล์ (Delphi) 

                                   ทั้งหมดนี่คือภาษาชั้นสูงในคอมพิวเตอร์น้า แต่สิ่งที่เมย์จะมาขายความและให้ความรู็กับเพื่อนๆอย่างละเอียดนั่นก็คือ "ภาษาฟอร์แทรน(fortran)  ไปอ่านกันเลยยยยยย


 FORTRAN   



 ภาษาฟอร์แทรน หรือ FORTRAN เป็นชื่อที่ย่อมาจาก FORmular TRANslation ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อกลางทศวรรษที่ 1950 ด้วยฝีมือของพนักงานบริษัทไอบีเอ็ม นับเป็นภาษาชั้นสูงภาษาแรกที่ได้มีการใช้แพร่หลาย จึงได้มีบัญญัติภาษาฟอร์แทรนฉบับมาตรฐานขึ้นในเวลาต่อมาโดย ANSI (American National Standard Institute)

        

        ฟอร์แทรนถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ อันเป็นงานที่มักใช้งานประมวลที่ซับซ้อน   เนื่องจากฟอร์แทรนถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานทางวิทยาศาสตร์ จึงมีจุดอ่อนในเรื่องเกี่ยวกับการจักการไฟล์ นอกจากนี้จากการที่ฟอร์แทรนถูกออกแบบมาตั้งแต่สมัยที่เรายังใช้บัตรเจาะรูซึ่งมีขนาด 80 คอลัมน์  ทำให้ฟอร์แทรนมีกฎเกณฑ์ที่จะต้องเริ่มต้นและจบประโยคภายในคอลัมน์ที่กำหนด ซึ่งเป็นเรื่องน่ารำคาญพอสมควร  ในการเขียนโปรแกรมในปัจจุบัน เมื่อพูดถึงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนแล้วก็ไม่สามารถสู้ภาษารุ่นใหม่ๆได้

ชุดคำสั่งภาษาฟอร์แทรน

          เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับการใช้งานทางด้านการคำนวณ  ตัวแปลชุดคำสั่งจะทำหน้าที่อ่านชุดคำสั่งที่เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เราเขียนขึ้น และแปลเป็นภาษาเครื่องที่ชุดคำสั่งควบคุมสามารถรับได้ คำสั่งในภาษาฟอร์แทรนแต่ละคำสั่งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า statement  ซึ่งแบ่งเป็นดังนี้
               คำสั่งรับส่งข้อมูล (input-output statement)ได้แก่  READ, WRITE หรือ PRINT, FORMAT
               คำสั่งคำนวณ (arithmetic statement) ได้แก่
                    - คำสั่งที่เป็นการคำนวณ  โดยทางซ้ายมือเป็นตัวแปร ทางขวามือเป็นการคำนวณ  เช่น X = A + B + 5
                    - คำสั่งตรรกะ (logical statement) เป็นคำสั่งประเภทควบคุม ได้แก่ คำสั่งที่ใช้ในการทดสอบ             ค่าเช่น IF (A.EQ.B) GO TO 15 หรือ GO TO (1, 2, 3,4, 5) และ I เป็นต้น
         นอกจากนี้  ยังมีคำสั่งประกอบอื่นๆ อีก เช่น DIMENSION, DATA, CALL SUB, และ RETURN เป็นต้น



           ฟอร์แทรนเป็นภาษาระดับสูงที่ใช้เขียนคำสั่งงานเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่  เช่น  เครื่องเมนเฟรม  (Mainframe  Computer)  เป็นภาษาที่ใช้แก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ภาษา  FORTRAN  จึงเหมาะสำหรับเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับสูตร  สมการ  หรือฟังก์ชันทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 

ตัวอย่างของภาษา  FORTRAN  บางส่วน มีดังนี้


READ    X
IF((X.GT.0)  .AND.  (X.LT.100))  THEN
            PRINT *, ‘VALUE  OF  X  IS :’,X
ELSE
             PRINT * , ‘X  IS  NOT  BETWEEN  0  AND  100’

ความหมายของคำสั่งงาน

READ  X  หมายถึง การอ่านค่าลงในตัวแปรชื่อ  X
IF((X.GT.0)  .AND.  (X.LT.100))  THEN หมายถึง  การตรวจสอบค่า X ที่อ่านค่า เข้ามาว่าอยู่ระหว่า 0-100 หรือไม่  ถ้าใช่ให้ทำคำสั่งหลัง THEN ถ้า
ไม่ใช่ให้ทำคำสั่งหลัง ELSE
PRINT *, ‘VALUE  OF  X  IS :’,X  หมายถึง  ให้พิมพ์ทั้งประโยคด้วยข้อความที่ กำหนดแล้วตามด้วยค่าของตัวแปร X ที่อ่านเข้ามา
PRINT * , ‘X  IS  NOT  BETWEEN  0  AND  100’  หมายถึง  พิมพ์ทั้งประโยค โดยแสดงค่าของ X ก่อนประโยคข้อความ 

ข้อดีของภาษาฟอร์แทรน 

          เป็นภาษาที่มีคำสั่งงานเน้นประสิทธิภาพด้านการคำนวณ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รวมทั้งคำสั่งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องเมนเฟรม

ข้อจำกัดของภาษาฟอร์แทรน 

          เนื่องจากคำสั่งงานเหมาะสำหรับการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่  เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก  จะต้องปรับใช้คำสั่งมากมาย  รวมทั้งเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องประมวลผลก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบคำสั่งทุกครั้ง


 รูปตัวอย่างการเขียนโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน











                       ก็จบไปแล้วน้าา สำหรับภาษาฟอร์แทน เข้าใจกันมั้ยเอ่ยย  ในวันนี้เมย์ฏ็มีเรื่องที่จะมาให้ความรู็เพื่อนๆ แค่นี้แล้วพบกันใหม่อาทิตย์หน้านะคะว่าเมย์จะมาให้ความรู้เพื่อนเรื่องอะไรอีกกกก



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


                      http://it.benchama.ac.th/ebook/files/chap5-17.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น